"Brand"
ตราสินค้า
(Brand) หมายถึง ชื่อ (Name), คํา (Term), สัญลักษณ์(Symbol), การออกแบบ(Design) ที่จะบอกว่าสินค้าหรือบริการหนึ่งๆเป็นของใครและมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไรวิธีงง่ายๆที่จะบอกว่าสิ่งไหนเป็นตราสินค้าหรือไม่นั้น
สังเกตไดจากตราสินค้าจะประกอบไปด้วย
คุณลักษณะ 4 ประการ ดังนี้คือ
1. Attribute : รูปร่างหน้าตาภายนอกที่จะทําให้เกิดการจดจํา
2. Benefit : คุณประโยชน์
3. Value : สิ่งที่ทําให้รู้สึกว่าใช้ตราสินค้านี้แล้วเกิดความภูมิใจ
4. Personality : บุคลิกภาพของตราสินค้า
ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ทุกอย่างที่สินค้ามีอยู่ทั้งหมด ตลอดจนความรู้สึกบางอย่างที่ผู้บริโภคมีกับสินค้าหรือตราสินค้านั้นๆ
โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ(Personality) ความน่าเชื่อถือ(Trust /
Reliability) ความมั่นใจ (Confidence) สถานภาพ(Status) ประสบการณ์(Share
experience) และความสัมพันธ์ (Relationship) สามารถอธิบายตามตารางด้านล่างเพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ
คัดลอกจากเว็ปไซด์ : http://utcc2.utcc.ac.th/brandthaicenter/doc/article_bubpa.pdf
สรุป "Brand" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง สินค้า คือ ชื่อ คำ สัญลักษณ์ ที่ผู้บริโภคสามารถจดจำได้เป็นอย่างดีและสามารถมองเห็นจับต้องได้ + ความรู้สึก ทุกอย่างที่สินค้ามีทั้งหมด ความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า ความน่าจดจำ ทั้งในเรื่องดีไม่ดี มีความมั่นใจในสินค้า ฉะนั้น Brand จึงมีความสำคัญสำหรับ ผลิตภัณฑ์ (Product) มากเช่นกัน
"เครื่องหมาย"และ"สัญญาลักษณ์"
สัญญาลักษณ์ (symbols) มีความหมายควบคุมทุกประเภทดังที่หนังสือบัญญัติพร้อมอธิบายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
พศ.2525 ได้อธิบายไว้ว่า “สัญญาลัษณ์” หมายถึง
ลักษณะของสิ่งใดๆที่กำหนดนิยมกันขึ้นมาเองให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง
และเดรย์ฟัสส์(Dreyfuss,1972)ได้อธิบายไว้ทำนองเดียวกันคือ
1.สิ่งซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งอื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม
2.ตัวอักษรที่เขียนจึ้นหรือเครื่องหมาย(mark) ที่ใช้เป็นตัวแทนบ้างสิ่งบ้างอย่าง
เช่นตัวอักษร รูปร่าง หรือเครื่องหมายแทนวัตถุกระบวนการบางอย่างเป็นต้น
ทองเจือ เขียดทอง,พ.ศ.2548
สรุป "เครื่องหมาย"และ"สัญญาลักษณ์" หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวแทนของอีกสิ่งหนึ่ง หรือ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง สีสันก็ได้ ใช้ในการสื่อสารความหมายให้มนุษย์เราเข้าใจตรงกันจะเป็นรูปธรรม นามธรรมก็ได้ สามารถช่วยในการสื่อสาร อาจเป็นรูปภาพ อักษร น้ำเสียง หรือการทำท่าทางก็ได้ ทำให้ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีเข้าใจที่ตรงกัน
"การออกแบบอัตลักษณ์"
Corporate Identity Design (หรือ CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design คือ การออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป เรียกว่า ถ้าพลาดก็อาจทำให้ภาพของแบรนด์บิดเบี้ยวไปเลยก็ได้
คำว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “อัตลักษณ์” ไว้ว่า คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของตัวบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ กล่าวคือ ลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ “อัตลักษณ์” มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “อัตตะ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน “ลักษณะ” หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “อัตลักษณ์” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า “เอกลักษณ์” มีคำว่า “เอก” ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมอย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีนัยยะแฝง เช่น “เอกลักษณ์” เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน “อัตลักษณ์” สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจน
คัดลอกจากเว็ปไซด์ : http://panupat-arti3901.blogspot.com/2012/07/logo.html
สรุป "การออกแบบอัตลักษณ์" คือ การออกแบบกำหนดหน้าตาและทิศทางของสินค้านั้นๆ ฉะนั้นการออกแบบ โลโก้ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องออกแบบให้บุคคลอื่นหรือลูกค้าที่มองเห็นสัมผัสได้ตรงกับองค์กรไม่อย่างนั้นภาพของแบรนด์ก็จะบิดเบี้ยวผิดพลาดไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น