ส.1 การสืบค้น (Ver.2)
การวิเคราะห์โครงสร้างของผลิตภัณฑ์เดิม visual analysis
ส่วนประกอบของตราสัญลักษณ์
งอบ หมายถึง หมวกของชาวนา
มือจับกัน หมายถึง สมาชิกกลุ่มจับมือกันร่วมมือกัน
รวงข้าว หมายถึง การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
โบว์ หมายถึง การที่ผูกใจชาวหน้าไว้ด้วยกัน
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน
อุปสรรคและโอกาส (SWOT Analysis)
Concept
งานที่จะออกแบบใน Ver.2 นี้ข้าพเจ้าทะทำเป็นข้าว 1 กก. และเป็นข้าวหอมเบอรี่ ใช้ชื่อแบรนด์ว่า
Un Lue “อันลือ”ซึ่งมีความหมายที่ข้าพเจ้าคิดว่า ความเรื่องนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องความ มีแต่คนรู้จัก
และข้าพเจ้้าเลือกใช้โทนสีม่วงเพราะสื่อถึงข้าวเบอรี่อย่างเด่นชัดดี และเหตุที่ทำเป็นถุง 1 กก.
ก็เพราะมุ่งเน้นไปจำพวกนักศึกษาที่รักสุขภาพและไม่ค่อยได้ทำกับข้าวอยู่หอ
สืบค้นข้อมูล ข้าวเบอรี่
ข้าวไรซ์เบอรี่ ได้มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาว ดอกมะลิ 105 จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ได้
เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี และให้ประโยชน์สูง สุดแก่ผู้บริโภค เมล็ด พันธุ์ที่ได้จะถูกแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เป็นผู้ ปลูกและดูแลรักษา ซึ่งต้องอยู่ในพื้นที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่
เหมาะสม โดยส่วนมากจะอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อ ให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติดี ครบถ้วนตามลักษณะพันธุ์ ทำให้ได้ข้าว ไรซ์เบอรี่เมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม มีกลิ่น หอมมะลิ น่ารับประทาน
ส.1 การสืบค้น
ชื่อวิสาหกิจชุมชน : กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.นางลือ - ต.ท่าชัย
ประเภท : อาหาร
รหัสทะเบียนวิสาหกิจชุมชน : 1-18-01-03/1-001
ประเภทกิจการ : การผลิตปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
ประธานกลุ่ม : นายสำรวม ปานหลุมข้าว
สมาชิกกลุ่มผู้ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ : จำนวน ๖๔ ราย
จำนวนสมาชิก : ๑๔๐ คน
ที่ตั้งสำนักงาน : 23 ม. 12 ตำบลนางลือ อำเภอเมือง
จังหวัดชัยนาท
ที่อยู่/โทรศัพท์ : 08-1280-4925
วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ”
เกษตรกรชัยนาทรวมกลุ่มผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพยกระดับสู่วิสาหกิจชุมชน
จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ รวมทั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 ชัยนาท ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธ์ข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวของศูนย์ขยายพันธุ์พืช(ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท) เช่นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย ที่ได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของจุดสาธิตการเกษตรของศูนยืบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนางลือ โดยมี นายวิยัติ กลีบเอม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล
นายสำรวม ปานหลุมข้าว ประธานกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท กล่าวว่า กลุ่มฯ ได้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ร่วมกับทางราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งในครั้งนั้นมีเกษตรกรเข้าร่วมการจัดทำแปลงเพียง 9 ราย ในพื้นที่ 200 ไร่ และได้รับการจดทะเบียนกับสำนักขยายเมล็ดพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร เลขทะเบียนที่ 9/46 วันที่ 14 มีนาคม 2546 ปัจจุบันมีสมาชิก 91 คน ใน 2 ตำบลผลิตพันธุ์ข้าว ชัยนาท 2 และสุพรรณบุรี 1 รวมพื้นที่1,957 ไร่ ตามวิสัยทัศน์ของกลุ่มคือ “เป็นผู้นำด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ” โดยดำเนินงานในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจด้วยการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ชื่อ “กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ” รหัสทะเบียน 1-18-01-03/1-0001 ณ วันที่ 28 กันยายน 2548 ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จด้วยดีคือมีกำไรสุทธิ 166,444 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ เงินปันผล 28.33 % ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 18.02 % ค่าตอบแทนผู้จัดการฝ่ายผลิตและตลาด 12.00% และกันไว้เป็นทุนหมุนเวียนและสาธารณะประโยชน์ 41.64 %และได้รับการอนุมัติงบประมาณจากจังหวัดชัยนาทในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 20ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว และฝึกอบรมเกษตรกรสมาชิกในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกขั้นตอน
การทำพันธุ์ข้าวนั้นไม่ได้เป็นการยุ่งยากไปมากกว่าการปลูกข้าวปกติเท่าใดนัก หลังจากซื้อพันธุ์ข้าว สำหรับผลิตพันธุ์ข้าว จากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดชัยนาท(ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท กรมการข้าว) แล้วดำเนินการดังนี้
เลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การเตรียมแปลง ต้องกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก
ไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อนหว่านข้าว
หลังจากข้าวงอกทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ ทำทั้งหมดทุกระยะการเจริญเติบโต อย่างน้อย 4 ครั้งคือ
- ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่ สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก
- ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูงสีต้นกาบใบและใบ
- ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
- ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆ ของต้นในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วันเมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฏ เสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่ ก่อนการเก็บเกี่ยวตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมี ลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก
เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีจะทำการเกี่ยวนวดทันที ด้วยเครื่องนวดที่ทำความสะอาดอย่างดีไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ นำไปตากและเข้าเครื่องแยกสิ่งเจือปน แล้วนำมาตากแดด1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท พร้อมที่จะจำหน่าย
หลังจากการเก็บข้อมูลเรื่องดีๆ แล้วเมื่อเลิกงานก็ได้นังพูดคุยกับท่านเกษตรจังหวัดชัยนาท เพื่อจะได้ความรู้ดีๆ มาฝากผู้อ่าน เช่นเคยนายรังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท ได้กล่าวข้อคิดว่าถ้ากลุ่มเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนและกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ผู้ผลิตพันธุ์ข้าวว่า ถ้ากลุ่มต่างๆ ได้ดำเนินการผลิตอย่างดี รักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อรักษาคุณภาพไม่เพียงรักษาลูกค้าไว้เท่านั้นยังคงช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร ประเทศชาติในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพ เพราะพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ให้ผลผลิตที่ดี ลดต้นทุนการผลิตเพราะทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นปัจจัยพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน สร้างหนุนให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก น่านำไปใช้ในการผลิตพันธุ์ข้าว หรือผลิตภัณฑ์ ต่างๆ นะครับท่านผู้อ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น