1. อยากให้โลโก้ “สื่ออารมณ์” แบบไหน
ก่อนจะเริ่มเลือกสี เลือกรูปทรง เราต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ออกมามีอารมณ์แบบไหน ซึ่งอารมณ์ที่เราเลือกก็ควรจะสอดคล้องกับหน้าตาของแบรนด์ที่เราต้องการด้วยครับ
ตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Disney สื่อถึง “ความสนุก” และ “การมองโลกในแง่ดี” โดยตัวอักษรโค้งทำให้ดูสนุก และสอดคล้องกับแบรนด์ที่เป็นการ์ตูนน่ารัก ๆ สำหรับเด็กอีกด้วย ซึ่งถ้าเราเอาโลโก้แบบ Disney ไปใช้กับธุรกิจร้านขายของเท่ ๆ ก็คงไม่เหมาะ
นอกจากการดูรูปทรงแล้ว นักออกแบบโลโก้ควรศึกษาเรื่องการใช้สี และอารมณ์ของสีด้วย เช่น สีเขียว มีความหมายเกี่ยวกับการเติบโต สุขภาพ และธรรมชาติ นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย ในขณะที่ สีแดง สื่อถึงอันตราย และความกระตือรือร้น
ฟ้อนต์อีกแบบคือแนวน่ารัก ๆ ไม่เป็นทางการ (Casual) แบบ Comic Sans ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจการ์ตูน อนิเมชั่น หรือร้านขายของเล่น
การเลือก Font ให้สื่อถึงอารมณ์ก็สำคัญ ฟ้อนต์ Garamond, Helvetica, Comic Sans ต่างให้อารมณ์คนละแบบ ฟ้อนต์มีหาง (Serif) เช่น Garamond สื่อถึงความเคารพ ดั้งเดิม ซึ่งเหมาะกับเว็บไซต์ข่าว หรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ (แต่แอดมินรู้สึกว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่จะเน้นความ Modern มากกว่าความเก่าแก่ ใช้ฟ้อนต์ไม่มีหางเท่ ๆ กันหมด)
ส่วนฟ้อนต์แบบไม่มีหาง (Sans-serif) เช่น Helvetica จะให้ความรู้สึก Modern สะอาดตา เหมาะกับธุรกิจเทคโนโลยี หรือสื่อโฆษณา
ส่วนฟ้อนต์แบบไม่มีหาง (Sans-serif) เช่น Helvetica จะให้ความรู้สึก Modern สะอาดตา เหมาะกับธุรกิจเทคโนโลยี หรือสื่อโฆษณา
บทความที่เกี่ยวข้อง: [Free Fonts Download] รวมแหล่งดาวน์โหลด ฟ้อนต์ฟรี แห่งปี !!!
ในการทำโลโก้ให้ออกมาดี เราต้องเข้าใจถึงเรื่องรูปทรง, สี, และตัวอักษร จึงจะทำให้โลโก้สื่ออารมณ์ที่เราต้องการได้
2. อยากให้โลโก้มี “ความหมาย” อย่างไร
โลโก้ที่ดีทุกโลโก้ล้วนมีความหมายอยู่เบื้องหลัง
โลโก้ที่ดีของแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้ที่เอาชื่อแบรนด์มาจับคู่กับรูปทรงนั้น ๆ เฉย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่ควรเอาโลโก้สำเร็จรูปมาใช้กับธุรกิจเรา นักออกแบบโลโก้ต้องเข้าใจว่าแบรนด์ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีอัตลักษณ์อย่างไร มี Vision อย่างไร ถึงจะออกแบบมาเป็นโลโก้ที่ดีได้
ดูตัวอย่างจากโลโก้ของเว็บไซต์ชื่อดัง Amazon.com จะเห็นว่ามีลูกศรสีส้มชี้จากใต้ตัว A ไปถึงตัว Z เป็นการบ่งบอกว่า “Amazon มีทุกอย่างขาย ตั้งแต่ A ถึง Z” นอกจากนั้นลูกศรสีส้มยังโค้งเหมือนรอยยิ้ม สื่อถึงหน้าของลูกค้าที่จะยิ้มเมื่อได้รับสินค้าที่ถูกใจนั่นเอง
3. โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน
แน่นอนว่าคงไม่มีแบรนด์ไหนที่เปลี่ยนโลโก้ทุกปีเพื่อให้ลูกค้างงเล่น เพราะฉะนั้นนักออกแบบโลโก้ต้องคิดเสมอว่าในอีก 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี โลโก้ของเราจะยังดูดีอยู่มั้ย
การเลือกดีไซน์โลโก้ตามเทรนด์ประจำปี หรือโทนสีประจำปีเป็นความคิดที่ไม่ดีครับ เพราะเทรนด์พวกนี้อยู่ไม่กี่ปีก็จะกลายเป็นของเก่าไป นอกจากนั้นเราจะพบว่ามีโลโก้หน้าตา โทนสีคล้าย ๆ เราเต็มไปหมดอีกด้วย
โลโก้ที่มีอายุยืนยาวมักจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้ได้เป็น 10 – 20 ปีโดยที่ไม่ดูเก่าไปเลยด้วยซ้ำ
เทคนิคทดสอบว่าโลโก้เราจะมีอายุยืนยาวมั้ย ให้ทำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก่อนนำไปใช้จริงครับ ดูมันทุกวัน ๆ แล้วเรารู้สึกเบื่อมันมั้ย ถ้าเรารู้สึกเบื่อแปลว่าโลโก้ของเราคงมีอายุอยู่ได้ไม่นานครับ
ลองดูตัวอย่างจากโลโก้ของ Apple จะเห็นว่าถ้า Apple เลือกใช้โลโก้ที่ออกแบบในปี 1976 อันซ้ายสุด โลโก้คงตกยุคไปนานแล้วครับ แต่ Apple เลือกใช้อันกลาง ซึ่งมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้โดยการเปลี่ยนเป็นสีเรียบเท่านั้นเอง
3. โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน
แน่นอนว่าคงไม่มีแบรนด์ไหนที่เปลี่ยนโลโก้ทุกปีเพื่อให้ลูกค้างงเล่น เพราะฉะนั้นนักออกแบบโลโก้ต้องคิดเสมอว่าในอีก 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี โลโก้ของเราจะยังดูดีอยู่มั้ย
การเลือกดีไซน์โลโก้ตามเทรนด์ประจำปี หรือโทนสีประจำปีเป็นความคิดที่ไม่ดีครับ เพราะเทรนด์พวกนี้อยู่ไม่กี่ปีก็จะกลายเป็นของเก่าไป นอกจากนั้นเราจะพบว่ามีโลโก้หน้าตา โทนสีคล้าย ๆ เราเต็มไปหมดอีกด้วย
โลโก้ที่มีอายุยืนยาวมักจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้ได้เป็น 10 – 20 ปีโดยที่ไม่ดูเก่าไปเลยด้วยซ้ำ
เทคนิคทดสอบว่าโลโก้เราจะมีอายุยืนยาวมั้ย ให้ทำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก่อนนำไปใช้จริงครับ ดูมันทุกวัน ๆ แล้วเรารู้สึกเบื่อมันมั้ย ถ้าเรารู้สึกเบื่อแปลว่าโลโก้ของเราคงมีอายุอยู่ได้ไม่นานครับ
ลองดูตัวอย่างจากโลโก้ของ Apple จะเห็นว่าถ้า Apple เลือกใช้โลโก้ที่ออกแบบในปี 1976 อันซ้ายสุด โลโก้คงตกยุคไปนานแล้วครับ แต่ Apple เลือกใช้อันกลาง ซึ่งมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้โดยการเปลี่ยนเป็นสีเรียบเท่านั้นเอง
4. โลโก้ของเรามี “ลักษณะเฉพาะ” มั้ย? โลโก้จดจำง่ายมั้ย?
โลโก้ที่ดีต้องมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร และจดจำได้ง่าย ลูกค้าควรจะจดจำรูปทรงโลโก้ของเราได้ตั้งแต่แรกเห็น วิธีการทดสอบง่าย ๆ ว่าโลโก้ของเราจดจำง่ายหรือยาก คือ ให้ลองเอาโลโก้ไปให้เพื่อนของคุณดู เสร็จแล้วอีก 1 สัปดาห์กลับมาถามเพื่อนว่าโลโก้ที่เคยให้ดูมีลักษณะเป็นยังไง คนที่ไม่เคยเห็นโลโก้มาก่อนจะช่วยบอกได้ว่าโลโก้เรามีส่วนไหนที่จดจำง่าย
โลโก้ที่คล้ายกับโลโก้อื่นอาจทำให้คนสับสน และจำแบรนด์เราสลับกับแบรนด์ของคนอื่นได้
ด้านซ้ายของรูป คือ โลโก้ของ Path แอพ Social Network ที่ดังตอนแรก ๆ ส่วนด้านขวา คือ โลโก้ของ Pinterest บริการปักหมุดรูปภาพออนไลน์ชื่อดัง จะเห็นว่า 2 โลโก้นี้มีความคล้ายกันมาก ซึ่งทำให้ผู้ใช้จำผิดได้ง่าย ๆ เลยครับ
ปกตินักออกแบบโลโก้หลาย ๆ คนจะเริ่มออกแบบจากสีขาว – ดำก่อนครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าโลโก้ที่ออกมาจะมีรูปทรงที่จดจำได้ง่าย โดยไม่ต้องพึ่งพาสีของโลโก้ โลโก้ที่ดี คือ โลโก้ที่ลูกค้าบอกได้ว่าเป็นแบรนด์อะไร เพียงแค่เห็นรูปทรง
โลโก้ของเราจะถูกนำไปใช้ในสื่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งสื่อขาว-ดำ และสื่อที่มีสีครับ เพราะฉะนั้นการทำให้โลโก้ขาว – ดำมีจุดให้จดจำเพียงพอนั้นสำคัญมาก
จะเห็นได้ว่าโลโก้ของ National Geographic ถ้าเป็นสีขาว – ดำแบบด้านซ้ายจะเหลือแต่สีเหลี่ยมสีดำ ซึ่งดูออกยากมากครับว่าเป็นแบรนด์อะไร แต่ถ้าใส่สีเหลืองเข้ามาก็จะรู้เลยว่าเป็นโลโก้ National Geographic
6. โลโก้ถ้าใช้แบบย่อเล็ก ๆ จะดูออกมั้ย
(แอดมิน: จากที่ทำงานในบริษัทเน้นด้าน Printing ข้อนี้สำคัญมากครับ กาดอกจันทร์ 10 ดอก) บางครั้งโลโก้ก็ถูกนำไปย่อเล็กในสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าออกแบบโลโก้มาไม่ดี อาจทำให้กลายเป็นก้อนอะไรไม่รู้ก็เป็นได้ครับ
จากรูปด้านบนจะเห็นได้ชัดเลยครับว่าโลโก้ Nike, McDonald, Twitter, และ WWF ดูออกง่ายมากในขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นโลโก้ GE หรือ Starbucks เราดูแทบไม่ออกเลยว่าเป็นโลโก้แบรนด์อะไร
หลักการคิดทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาไม่ได้เป็นกฏตายตัวนะครับ แต่เป็นแนวทางที่ทำให้ออกแบบโลโก้ที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ต้องตรงตามวิธีในนี้เป๊ะ ๆ ก็เป็นโลโก้ที่ดีได้เช่นกัน แต่เราก็จะรู้ด้วยตัวเองว่าถ้าทำแบบไหนจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ก่อนออกแบบโลโก้ทุกครั้ง ลองถามคำถาม 6 ข้อนี้กับตัวเองดูครับ อาจจะทำให้โลโก้ของเราเป็นโลโก้ที่ดีมากขึ้นก็ได้
คัดลอกมาจาก : http://www.designil.com/how-to-logo-design-tips.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น