วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 13 ( พุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 13 ( พุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

    วันนี้เป็นการเรียนคลาสสุดท้าย อาจารย์ให้ นศ. ทุกคนไปเคลียไดร์ฟให้เรียบร้อย และ แต่งบล็อกให้ดีเพราะอาจารย์จะดูความสร้างสรรค์ของเรา มีการนำโค็ต เมาส์ หรือ สิ่งแปลกใหม่มาลงหรือป่าว และ ให้เราศึกษาพวกโค็ตแต่งบล็อคเอง เช่น โค็ตหิมะ ตก 

ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_8044.html#.VHHTvVeUepU

โค็ตการแต่งข้อความต่างๆ ให้ ใหญ่ เอียง ตัวหนา ตัวเข็ม  ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ตัวอักษร


ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=7177

#และสัปดาห์วันจันทร์จะมีการสอบออนไลน์ ทั้งหมด 2 วิชาเลยเพราะ วันพุธ นศ. จะได้หยุดทำงาน ไฟล์นอลส่ง

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 12 ( พุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 12 ( พุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

    งานที่ทำทั้งหมดให้ นศ. อัพโหลดลงไดร์ฟ และในคลาสเรียนอาจารย์ให้ดู แบรนด์บรีสเป็นตัวอย่าง และให้ดูการวางตำปหน่งของแบรนด์ 
        ต่อมาอาจารย์ก็เปิดงานของรุ่นพี่แต่อยู่ในความดูแลของอาจารย์ภายใต้แบรนด์ มือปืน (ปลากระป๋องมือปืน) และสอนการปรับเปลี่ยน (ReBrand) จะต้องคล้ายกับของเก่าเพราะเราต้องคำนึงถึงการจดจำของลูกค้าด้วย และเราจะต้องเรียนรู้ ทฤษฏีการจับคู่สี => คู่สี (complementary colours) 
สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้
- ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ

- การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ

- ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensity) ของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง



 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://webboard.yenta4.com/topic/489401

#งานที่ส่งให้อาจารย์พร้อมคำแนะแนวปรับปรุงแก้ไขปัญหา#

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 11 ( พุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 11 ( พุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

                      อาจารย์แนะแนวเรื่อง การออกแบบฉลากข้าว ว่าควรมีอะไรบ้าง และอธิบายโดยละเอียดสอนเรื่องการดีไซน์ทีเกี่ยวข้องกับข้าว และอาจารย์ก็เปิดงานของอาจารย์ให้ นศ. ดูเป็นตัวอย่างทำให้เห็นภาพและคิดตามไปด้วยได้ง่าย ในการทำงานออกแบบทุกครั้ง จะต้องมีการเขียน Concept และ ธีม
ของงานที่เราออกแบบให้ได้ เพราะในการทำงานจริง เราจะต้องอธิบายให้เข้าฟังได้ และให้ฝึกเรียนรู้ ทฏดีสี ความหมายต่างๆ
ที่มาของภาพ www.oknation.net

และเรียนรู้การรีทัชต่างๆด้วย รู้จักการทำมุมมองให้สวย และเรายังจะต้องเรียนรู้การสร้าง
ภาพประกอบ เพื่อเรียกให้คนจ้างงานเราสนใจ
 การนำสินค้าวางขายในห้างสรรพสินค้า การรู้จักความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค

ที่มาของภาพ www.innnews.co.th
ความรู้เพิ่มเติม 
#แม่สี#
แม่สีจิตวิทยา
ม่สกล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน

แม่สีวิทยาศาสตร์
แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ
สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง

แม่สีศิลปะ
แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ
ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์
ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินบด้วย

แม่สี Primary Colour

แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สี มือยู่ 2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน

สีตัดกัน
สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่
ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริงตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้ี้

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 10 ( พุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 10 ( พุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

       วันนี้อาจารย์สอนถึงการวิเคราะห์ดูข้าว #ส่วนประกอบของข้าว การดูข้าวว่าข้าวไทยเป็นอย่างไง? 
และอาจาร์ยก็ให้นำเสนอความคืบหน้าของงาน ทีละบุคคล 

เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะการที่ละอองเกสรตัวผู้ตกลงบนที่รับละอองเกสรของเกสรตัวเมียนั้น เรียกว่า การผสมเกสร หลังจากการผสมเกสรเล็กน้อย ละอองเกสรตัวผู้ก็จะงอกลงไปในก้านของที่รับละอองเกสร เพื่อจะได้นำนิวเคลียส จากละอองเกสรตัวผู้ลงไปผสม โดยรวมตัวกับไข่และนิวเคลียสอื่นๆ ในรังไข่ นิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับไข่จะเจริญเติบโตเป็นคัพภะ ส่วนนิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับนิวเคลียสอื่นๆ (polar nuclei) ก็จะเจริญเติบโตเป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม หลังจากการผลมเกสร ประมาณ ๓๐ วัน เมล็ดข้าวก็จะแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้



ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (germ หรือ embryo) และส่วนเอนโดสเปอร์ม หรือข้าวขาว ห่อหุ้มด้วยชั้นรำข้าว (rice bran) ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดหลายชั้น เยื่ออาลูโรน (aleurone layer) หรือชั้นรำละเอียด เป็นชั้นในสุดที่ติดกับเอนโดสเปอร์ม มีโปรตีนสูง และไขมันสูง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย cellulose และ hemicellulose

จมูกข้าว (germ) อยู่ติดกับ endosperm ทางด้าน lemma เป็นส่วนที่จะเจริญเป็นต้นต่อไปประกอบด้วย ต้นอ่อน (plumule) รากอ่อน (radicle) เยื่อหุ้มต้นอ่อน (coleoptile) เยื่อหุ้มรากอ่อน (coleorhiza) ท่อน้ำท่ออาหาร (epiblast) และใบเลี้ยง (scutellum) มีโปรตีน และลิพิด (lipid) วิตามินและแร่ธาติสูง

เอนโดสเปอร์ม (endosperm) คือส่วนเมล็ดข้าวสารที่นำมารับประทาน มีส่วนประกอบส่วนใหญ่ คือคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ที่เป็นสตาร์ซ (starch) ซึ่งมี amylose และ amylopectin เป็นส่วนประกอบหลัก อยู่รวมเป็นเม็ดสตาร์ซ (starch granule)

โปรตีนในข้าวที่ขัดสีแล้วมีปริมาณ ร้อยละ 7-8 โดยสามารถจำแนกตามความสามารถในการละลายได้ 4 ชนิด คือ albumin,globulin, prolamin และ glutelin ซึ่งโปรตีนเหล่านีมี้บทบาทในการขัดขวางการพองตัวของเม็ดสตาร์ซ (starch granule)