วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรียนจนจบภาคเรียนที่ 1/2557 แล้ว ได้ความรู้และประสบการณ์

เรียนจนจบภาคเรียนที่ 1/2557 แล้ว ได้ความรู้และประสบการณ์ ดังนี้
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ได้ฝึกการเรียนรู้รู้ด้วยตยเอง ทำความเข้าใจด้วยตนเอง และ ฝึกความรับผิดชอบในการทำงาน และ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักการรับฟังความคิดของคนในกลุ่ม
2.ด้านความรู้
- ได้ทักษะการทำงานจริง โดยการออกพื้นที่ และเรียนรู้โปรแกรม illustrator , sketchUp มากขึ้น และฝึก ทักษะการ ดราฟของเราให้ดีขึ้น
3.ด้านปัญญา
- ได้พัฒนาสมองให้มีความคิดวิเคราะห์ และ แยกแยะปัญหาได้มากขึ้น ฝึกการมีสมาธิในการทำงานของเรา
4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- จากการที่ได้เรียนรู้จากการเรียน การทำงานเป็นทีม ทำให้มีความรับผิดชอบ รู้จักการใช้เหตุผล การระงับอารมณ์ได้มากขึ้น และ ฝึกการยอมรับความคิดเห็นของคนส่วนรวม
5.ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ได้เรียนรู้การโปรแกรมใหม่ๆที่เรายังไม่เคยใช้ ฝึกการกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่เรายังไม่เคยทำ
6.ด้านทักษะวิชาชีพ
- การที่ได้ลงพื้นที่จริง และได้ฝึกการพูดคุยกับผู้ประกอบการจริง
7.นางสาวเนธิญา ประทุมนันท์ รหัสนักศึกษา5511302852 กลุ่มเรียน 101
Blogspot : http://artd2307-nethiya5511302852.blogspot.com/
โดยได้เผยแพร่ออนไลน์เป็นหนังสือออนไลน์ไว้ที่เว็บไซต์ที่ http://issuu.com/558823/docs/____________________________________ad152c2255b3cc/1?e=13684188/10404637


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 15 ( พุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 15 ( พุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 )


Finalproject

รายงานสรุปผลการออกแบบอัตลักษณ์และพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์
การออกแบบอัตลักษณ์ " Un Lue " ข้าวหอมเบอรี่ อัน ลือ
โดย นางสาวเนธิญา ประทุมนันท์
รหัส 5511302852 กลุ่ม 101
วิชาการออกแบบอัตลักษณ์
ARTD2307 Corporate Identity Design















รายงานสรุปผลการออกแบบอัตลักษณ์และพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์

รายงานสรุปผลการออกแบบอัตลักษณ์และพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์
การออกแบบอัตลักษณ์ " Un Lue " ข้าวหอมเบอรี่ อัน ลือ
โดย นางสาวเนธิญา ประทุมนันท์
รหัส 5511302852 กลุ่ม 101
วิชาการออกแบบอัตลักษณ์
ARTD2307 Corporate Identity Design

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 13 ( พุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 13 ( พุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

    วันนี้เป็นการเรียนคลาสสุดท้าย อาจารย์ให้ นศ. ทุกคนไปเคลียไดร์ฟให้เรียบร้อย และ แต่งบล็อกให้ดีเพราะอาจารย์จะดูความสร้างสรรค์ของเรา มีการนำโค็ต เมาส์ หรือ สิ่งแปลกใหม่มาลงหรือป่าว และ ให้เราศึกษาพวกโค็ตแต่งบล็อคเอง เช่น โค็ตหิมะ ตก 

ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_8044.html#.VHHTvVeUepU

โค็ตการแต่งข้อความต่างๆ ให้ ใหญ่ เอียง ตัวหนา ตัวเข็ม  ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ตัวอักษร


ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=7177

#และสัปดาห์วันจันทร์จะมีการสอบออนไลน์ ทั้งหมด 2 วิชาเลยเพราะ วันพุธ นศ. จะได้หยุดทำงาน ไฟล์นอลส่ง

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 12 ( พุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 12 ( พุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

    งานที่ทำทั้งหมดให้ นศ. อัพโหลดลงไดร์ฟ และในคลาสเรียนอาจารย์ให้ดู แบรนด์บรีสเป็นตัวอย่าง และให้ดูการวางตำปหน่งของแบรนด์ 
        ต่อมาอาจารย์ก็เปิดงานของรุ่นพี่แต่อยู่ในความดูแลของอาจารย์ภายใต้แบรนด์ มือปืน (ปลากระป๋องมือปืน) และสอนการปรับเปลี่ยน (ReBrand) จะต้องคล้ายกับของเก่าเพราะเราต้องคำนึงถึงการจดจำของลูกค้าด้วย และเราจะต้องเรียนรู้ ทฤษฏีการจับคู่สี => คู่สี (complementary colours) 
สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้
- ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ

- การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ

- ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensity) ของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง



 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://webboard.yenta4.com/topic/489401

#งานที่ส่งให้อาจารย์พร้อมคำแนะแนวปรับปรุงแก้ไขปัญหา#

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 11 ( พุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 11 ( พุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 )

                      อาจารย์แนะแนวเรื่อง การออกแบบฉลากข้าว ว่าควรมีอะไรบ้าง และอธิบายโดยละเอียดสอนเรื่องการดีไซน์ทีเกี่ยวข้องกับข้าว และอาจารย์ก็เปิดงานของอาจารย์ให้ นศ. ดูเป็นตัวอย่างทำให้เห็นภาพและคิดตามไปด้วยได้ง่าย ในการทำงานออกแบบทุกครั้ง จะต้องมีการเขียน Concept และ ธีม
ของงานที่เราออกแบบให้ได้ เพราะในการทำงานจริง เราจะต้องอธิบายให้เข้าฟังได้ และให้ฝึกเรียนรู้ ทฏดีสี ความหมายต่างๆ
ที่มาของภาพ www.oknation.net

และเรียนรู้การรีทัชต่างๆด้วย รู้จักการทำมุมมองให้สวย และเรายังจะต้องเรียนรู้การสร้าง
ภาพประกอบ เพื่อเรียกให้คนจ้างงานเราสนใจ
 การนำสินค้าวางขายในห้างสรรพสินค้า การรู้จักความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค

ที่มาของภาพ www.innnews.co.th
ความรู้เพิ่มเติม 
#แม่สี#
แม่สีจิตวิทยา
ม่สกล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน

แม่สีวิทยาศาสตร์
แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ
สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง

แม่สีศิลปะ
แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ
ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์
ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินบด้วย

แม่สี Primary Colour

แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สี มือยู่ 2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน

สีตัดกัน
สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่
ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริงตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้ี้

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 10 ( พุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 10 ( พุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

       วันนี้อาจารย์สอนถึงการวิเคราะห์ดูข้าว #ส่วนประกอบของข้าว การดูข้าวว่าข้าวไทยเป็นอย่างไง? 
และอาจาร์ยก็ให้นำเสนอความคืบหน้าของงาน ทีละบุคคล 

เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะการที่ละอองเกสรตัวผู้ตกลงบนที่รับละอองเกสรของเกสรตัวเมียนั้น เรียกว่า การผสมเกสร หลังจากการผสมเกสรเล็กน้อย ละอองเกสรตัวผู้ก็จะงอกลงไปในก้านของที่รับละอองเกสร เพื่อจะได้นำนิวเคลียส จากละอองเกสรตัวผู้ลงไปผสม โดยรวมตัวกับไข่และนิวเคลียสอื่นๆ ในรังไข่ นิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับไข่จะเจริญเติบโตเป็นคัพภะ ส่วนนิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับนิวเคลียสอื่นๆ (polar nuclei) ก็จะเจริญเติบโตเป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม หลังจากการผลมเกสร ประมาณ ๓๐ วัน เมล็ดข้าวก็จะแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้



ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (germ หรือ embryo) และส่วนเอนโดสเปอร์ม หรือข้าวขาว ห่อหุ้มด้วยชั้นรำข้าว (rice bran) ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดหลายชั้น เยื่ออาลูโรน (aleurone layer) หรือชั้นรำละเอียด เป็นชั้นในสุดที่ติดกับเอนโดสเปอร์ม มีโปรตีนสูง และไขมันสูง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย cellulose และ hemicellulose

จมูกข้าว (germ) อยู่ติดกับ endosperm ทางด้าน lemma เป็นส่วนที่จะเจริญเป็นต้นต่อไปประกอบด้วย ต้นอ่อน (plumule) รากอ่อน (radicle) เยื่อหุ้มต้นอ่อน (coleoptile) เยื่อหุ้มรากอ่อน (coleorhiza) ท่อน้ำท่ออาหาร (epiblast) และใบเลี้ยง (scutellum) มีโปรตีน และลิพิด (lipid) วิตามินและแร่ธาติสูง

เอนโดสเปอร์ม (endosperm) คือส่วนเมล็ดข้าวสารที่นำมารับประทาน มีส่วนประกอบส่วนใหญ่ คือคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ที่เป็นสตาร์ซ (starch) ซึ่งมี amylose และ amylopectin เป็นส่วนประกอบหลัก อยู่รวมเป็นเม็ดสตาร์ซ (starch granule)

โปรตีนในข้าวที่ขัดสีแล้วมีปริมาณ ร้อยละ 7-8 โดยสามารถจำแนกตามความสามารถในการละลายได้ 4 ชนิด คือ albumin,globulin, prolamin และ glutelin ซึ่งโปรตีนเหล่านีมี้บทบาทในการขัดขวางการพองตัวของเม็ดสตาร์ซ (starch granule)

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 9 ( พุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 9 ( พุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )
 
       วันนี้มีการเรียนเรื่องการออกแบบโลโก้โดยการคำนึงถึงลิขสิทธ #ลิขสิทธทางกราฟิกมีอายุ 10 ปี # การขายแบบ OEM คือ การจ้างเขาผลิต และสอนการ  Download Freevector และก่อนจะ Download ต้องอ่านก่อนตลอดจะมีข้อชี้แจ้งไว้ Personal and Non commercial => สามารถใช้ได้แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพานิชย์ แต่ถ้าหากเราจะนำไปใช้เราจะต้องดีไซด์และดัดแปลงก่อน และถ้าหากเราไปทำเพื่อการศึกษาเราจะต้องอ้างอิงทุกครั้ง และในการทำงานทุกครั้งจะต้องมีการร่างต้นแบบก่อนทุกครั้ง


และอาจารย์ก็ให้ นศ. เข้าไปศึกษาที่เว็บ http://www.logobee.com/blog/post/50-logo-design-styles-and-techniques เพื่อการแยกโลโก้ที่ถูกต้อง 


ตัวอย่าง


Unique font  => เป็นแบบตัวอักษรติดกัน


Seal  => ตราสัญญาลักษณ์แบบโลโก้ (วงกลม)

อาจารย์ให้ดูตัวอย่างการออกแบบที่ https://docs.google.com/spreadsheet/ccc?key=0AgdpUNs1N1FgdE93QWRCZkw0WlF4VjhnLUI1SjNpS0E&usp=drive_web#gid=13 อาจารย์แชร์ให้ที่ไดร์ฟแล้ว

#สอบปลายภาควันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2557

การบ้าน
- ส่ง ส1. พร้อมแบบร่าง


วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 8 ( พุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 8 ( พุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

การจัดแสดงผลงานโครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้า
สำหรับสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวจังหวัดชัยนาถ





     วันนี้มีการตรวจงานเป็นกลุ่มเรียงตั้งแต่กลุ่ม 1 ไป => และอาจารย์ได้เเดินตรวจงานพร้อมกับให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อเพื่อให้ดีขึ้น และ ไปในขั้นแปรรูปได้อย่างเข้าใจ และใน ชม. นี้มีการสอบภาคปฎิบติในโปรแกรม illustrator ด้วยการสั่งงานให้ออกแบบตราสัญญาลักษณ์  หันคาไรซ์เบอร์รี่ โดยมีข้อจำกัดห้ามเกิน 3 สี ส่งเป็นไฟล์ ia. - jpg. ในไดร์ฟด้วย ละต่อไปก็มีการสอบใน ระบบอีเลิร์นนิ่ง


#ในครั้งหน้าจะมีการปรึกษาและทำขั้นตอนต่อไป ในการแปรรูปข้าว



วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลิตภัณฑ์จากข้าว การแปรรูปข้าว


ผลิตภัณฑ์จากข้าว การแปรรูปข้าว

ผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าว 


สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 7 ( พุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 7 ( พุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 )
     
       สร้างแบรนด์ขึ้นมาสู่เขา! หาคู่แข่งเจ้าอื่นอีก! ถ่ายคุ่แข่งมาว่าเขาใช้บรรจุภัณฑ์อะไร! ถามถึงปัญหา!
การนำเสนองาน มีตั้งแต่การร่างภาพ มีที่มา มีข้อมูล เริ่มนำเสนอได้เลย ตามขั้นตอน 3ส. และอย่างน้อย
ที่ได้คือ โปรดัก ไปศึกษาว่าการแปรรูปข้าวมีกี่แบบลองทำมา เบรนด์ตั้งแต่ตามความคิดเดิม จัดเป็นโครงการส่วนบุคคล นำเสนอเอง ตัวต่อตัว 

#LoGoMaker# การทดลองทำโลโก้


ฟอนต์ฟรี # free commercial use font #
*สอบกลางภาค 20 คะแนน

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 6 ( พุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 6 ( พุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 )
   สอนการทำ Icon Folder ไฟล์ต่างๆ การทำงานที่ถูกต้องสมควรแยกไฟล์ Artwork = final งานที่ทำเสร็จแล้ว  Rester = stook ps งานที่ยังทำไม่เสร็จ Verter = stook ตราสัญญาลักษณ์ โลโก้ Altemate Design = งานที่ยังทำไม่เสร็จ Ptoto = stook รูปถ่าย
#การใช้ภาพแทนความทรงจำของมนุษย์ Communetation ตามไปดูที่ http://corporateidentitydesign.blogspot.com/ 

Simple => เรียบง่าย แต่เราต้องอธิบายได้ใส่ความคิดลงไป
Memorable => ที่น่าจดจำ
Timeless => ทันสมัย , อมตะ
Versatile => มีความหลากหลายใช้ประโยชน์ได้สุงสุด มีตัวอักษรในการจดจำ
Appropriate => ที่เหมาะสม ตำเหน่งของกราฟิก ต้องแข็งแกร่ง

สัปดาห์หน้า 

- ต้องสร้าง ARTWORK ให้เขา และงานต้องเสร็จหมด

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 5 ( พุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 5 ( พุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557 )

   สอนการดาวน์โหลดโปรแกรมไฟล์ illustrator cs6   และการเล่นโปรแกรม illustrator cs6 อย่าง
ละเอียดให้ นศ. ทำตามไปด้วยเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น การตั้งค่าหน้ากระดาษ การทำตัดตก การทำเส้น Grid



      มีการสอนโปรแกรง sketchup เพิ่มเติมมาด้วย เป็นโปรแกรมการทำรูปร่างกล่อง #Text Resolution => 300  Mesh Resolution => 150 ค่าเส้น Grid 0.25

การบ้าน
- ให้ นศ. ไปออกแบบสติดเกอร์โลโก้วิสหากิจที่ นศ. ได้ ขนาด 8x7 มา ส่งภายในวันนี้เที่ยงคืน เพื่อวันที่ 19 จะนำมาเป็นแบบให้เขาเลือกใช้
ตัวอย่าง




วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 4 ( พุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557 )

สรุปผลการศึกษาครั้งที่4 (พุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557)

         มีการแปลสรุปบทความพร้อมวิเคราะห์ไปด้วยทำให้เราให้เห็นภาพไปด้วย อาจารย์ให้ทำโลโก้ดัดแปลงเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว
#การเขียนเบอร์โทรศัพท์ที่ถูกต้อง 09 098 3900 #ต่างประเทศ +66909866750 และต้องมีการ
ใส่รหัสไปรษณี

และอาจารย์ก็สอนการพับกระดาษให้เป็นบรรจุภัณฑ์ และให้เราคิดต่อยอดไอเดียเอง 


การบ้าน
- ทำ Visual Analysis ถุงกระสอบข้าว =>  มีกราฟกอะไร ใช้ตัวอักษรอะไร เป็นอย่างไร ทำลงใน โฟร์เดอร์ ART WORK สือมันแปลความหมายว่าอย่างไร วิเคราะห์โลโก้ของเข้า ดูลักษณะภาพว่าเป็นอย่างไร จดทะเบียนการค้าหรือยัง 
- ออกแบบถุงใส่ข้าว พร้อมใส่ข้อมูลมาให้ถูกต้อง 



วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

การแปรรูปหมายถึง.....

การแปรรูปหมายถึง......

การแปรรูปสินค้าเกษตร
•คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและ คุณลักษณะของสินค้า
• ลดปัญหาสินค้าเกษตรกินเนื้อที่มาก และเน่าเสียง่าย
• ตอบสนอง form utility
• เพิ่มมูลค่าสินค้า
• รวมส่วนประสมการตลาด 4Ps ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า
• เปลี่ยนแปลงสถานะในการแข่งขัน

การแปรรูปอาหาร (food processing) 
เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารอยู่ใน
สภาพที่เหมาะสม สะดวก และปลอภัยต่อการบริโภค เป็นการถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ที่มีความหลากหลาย เพิ่มทางเลือก และเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ


คัดลอกมาจาก : การแปรรูป

หลักการออกแบบอัตลักษณ์ที่ดี

หลักการออกแบบอัตลักษณ์ที่ดี

1. อยากให้โลโก้ “สื่ออารมณ์” แบบไหน

ก่อนจะเริ่มเลือกสี เลือกรูปทรง เราต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ออกมามีอารมณ์แบบไหน ซึ่งอารมณ์ที่เราเลือกก็ควรจะสอดคล้องกับหน้าตาของแบรนด์ที่เราต้องการด้วยครับ

logo-design-compareตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Disney สื่อถึง “ความสนุก” และ “การมองโลกในแง่ดี” โดยตัวอักษรโค้งทำให้ดูสนุก และสอดคล้องกับแบรนด์ที่เป็นการ์ตูนน่ารัก ๆ สำหรับเด็กอีกด้วย ซึ่งถ้าเราเอาโลโก้แบบ Disney ไปใช้กับธุรกิจร้านขายของเท่ ๆ ก็คงไม่เหมาะ
นอกจากการดูรูปทรงแล้ว นักออกแบบโลโก้ควรศึกษาเรื่องการใช้สี และอารมณ์ของสีด้วย เช่น สีเขียว มีความหมายเกี่ยวกับการเติบโต สุขภาพ และธรรมชาติ นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย ในขณะที่ สีแดง สื่อถึงอันตราย และความกระตือรือร้น
 
การเลือก Font ให้สื่อถึงอารมณ์ก็สำคัญ ฟ้อนต์ Garamond, Helvetica, Comic Sans ต่างให้อารมณ์คนละแบบ ฟ้อนต์มีหาง (Serif) เช่น Garamond สื่อถึงความเคารพ ดั้งเดิม ซึ่งเหมาะกับเว็บไซต์ข่าว หรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ (แต่แอดมินรู้สึกว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่จะเน้นความ Modern มากกว่าความเก่าแก่ ใช้ฟ้อนต์ไม่มีหางเท่ ๆ กันหมด)

ส่วนฟ้อนต์แบบไม่มีหาง (Sans-serif) เช่น Helvetica จะให้ความรู้สึก Modern สะอาดตา เหมาะกับธุรกิจเทคโนโลยี หรือสื่อโฆษณา
ฟ้อนต์อีกแบบคือแนวน่ารัก ๆ ไม่เป็นทางการ (Casual) แบบ Comic Sans ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจการ์ตูน อนิเมชั่น หรือร้านขายของเล่น

บทความที่เกี่ยวข้อง: [Free Fonts Download] รวมแหล่งดาวน์โหลด ฟ้อนต์ฟรี แห่งปี !!!

ในการทำโลโก้ให้ออกมาดี เราต้องเข้าใจถึงเรื่องรูปทรง, สี, และตัวอักษร จึงจะทำให้โลโก้สื่ออารมณ์ที่เราต้องการได้


2. อยากให้โลโก้มี “ความหมาย” อย่างไร

โลโก้ที่ดีทุกโลโก้ล้วนมีความหมายอยู่เบื้องหลัง

โลโก้ที่ดีของแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้ที่เอาชื่อแบรนด์มาจับคู่กับรูปทรงนั้น ๆ เฉย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่ควรเอาโลโก้สำเร็จรูปมาใช้กับธุรกิจเรา นักออกแบบโลโก้ต้องเข้าใจว่าแบรนด์ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีอัตลักษณ์อย่างไร มี Vision อย่างไร ถึงจะออกแบบมาเป็นโลโก้ที่ดีได้


ดูตัวอย่างจากโลโก้ของเว็บไซต์ชื่อดัง Amazon.com จะเห็นว่ามีลูกศรสีส้มชี้จากใต้ตัว A ไปถึงตัว Z เป็นการบ่งบอกว่า “Amazon มีทุกอย่างขาย ตั้งแต่ A ถึง Z” นอกจากนั้นลูกศรสีส้มยังโค้งเหมือนรอยยิ้ม สื่อถึงหน้าของลูกค้าที่จะยิ้มเมื่อได้รับสินค้าที่ถูกใจนั่นเอง
3. โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน

แน่นอนว่าคงไม่มีแบรนด์ไหนที่เปลี่ยนโลโก้ทุกปีเพื่อให้ลูกค้างงเล่น เพราะฉะนั้นนักออกแบบโลโก้ต้องคิดเสมอว่าในอีก 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี โลโก้ของเราจะยังดูดีอยู่มั้ย

การเลือกดีไซน์โลโก้ตามเทรนด์ประจำปี หรือโทนสีประจำปีเป็นความคิดที่ไม่ดีครับ เพราะเทรนด์พวกนี้อยู่ไม่กี่ปีก็จะกลายเป็นของเก่าไป นอกจากนั้นเราจะพบว่ามีโลโก้หน้าตา โทนสีคล้าย ๆ เราเต็มไปหมดอีกด้วย

โลโก้ที่มีอายุยืนยาวมักจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้ได้เป็น 10 – 20 ปีโดยที่ไม่ดูเก่าไปเลยด้วยซ้ำ

เทคนิคทดสอบว่าโลโก้เราจะมีอายุยืนยาวมั้ย ให้ทำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งก่อนนำไปใช้จริงครับ ดูมันทุกวัน ๆ แล้วเรารู้สึกเบื่อมันมั้ย ถ้าเรารู้สึกเบื่อแปลว่าโลโก้ของเราคงมีอายุอยู่ได้ไม่นานครับ


ลองดูตัวอย่างจากโลโก้ของ Apple จะเห็นว่าถ้า Apple เลือกใช้โลโก้ที่ออกแบบในปี 1976 อันซ้ายสุด โลโก้คงตกยุคไปนานแล้วครับ แต่ Apple เลือกใช้อันกลาง ซึ่งมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้โดยการเปลี่ยนเป็นสีเรียบเท่านั้นเอง

4. โลโก้ของเรามี “ลักษณะเฉพาะ” มั้ย? โลโก้จดจำง่ายมั้ย?

โลโก้ที่ดีต้องมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร และจดจำได้ง่าย ลูกค้าควรจะจดจำรูปทรงโลโก้ของเราได้ตั้งแต่แรกเห็น วิธีการทดสอบง่าย ๆ ว่าโลโก้ของเราจดจำง่ายหรือยาก คือ ให้ลองเอาโลโก้ไปให้เพื่อนของคุณดู เสร็จแล้วอีก 1 สัปดาห์กลับมาถามเพื่อนว่าโลโก้ที่เคยให้ดูมีลักษณะเป็นยังไง คนที่ไม่เคยเห็นโลโก้มาก่อนจะช่วยบอกได้ว่าโลโก้เรามีส่วนไหนที่จดจำง่าย

โลโก้ที่คล้ายกับโลโก้อื่นอาจทำให้คนสับสน และจำแบรนด์เราสลับกับแบรนด์ของคนอื่นได้

ด้านซ้ายของรูป คือ โลโก้ของ Path แอพ Social Network ที่ดังตอนแรก ๆ ส่วนด้านขวา คือ โลโก้ของ Pinterest บริการปักหมุดรูปภาพออนไลน์ชื่อดัง จะเห็นว่า 2 โลโก้นี้มีความคล้ายกันมาก ซึ่งทำให้ผู้ใช้จำผิดได้ง่าย ๆ เลยครับ

5. โลโก้ยังดูออกมั้ยตอนเป็นสีขาว – ดำ

ปกตินักออกแบบโลโก้หลาย ๆ คนจะเริ่มออกแบบจากสีขาว – ดำก่อนครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าโลโก้ที่ออกมาจะมีรูปทรงที่จดจำได้ง่าย โดยไม่ต้องพึ่งพาสีของโลโก้ โลโก้ที่ดี คือ โลโก้ที่ลูกค้าบอกได้ว่าเป็นแบรนด์อะไร เพียงแค่เห็นรูปทรง

โลโก้ของเราจะถูกนำไปใช้ในสื่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งสื่อขาว-ดำ และสื่อที่มีสีครับ เพราะฉะนั้นการทำให้โลโก้ขาว – ดำมีจุดให้จดจำเพียงพอนั้นสำคัญมาก


จะเห็นได้ว่าโลโก้ของ National Geographic ถ้าเป็นสีขาว – ดำแบบด้านซ้ายจะเหลือแต่สีเหลี่ยมสีดำ ซึ่งดูออกยากมากครับว่าเป็นแบรนด์อะไร แต่ถ้าใส่สีเหลืองเข้ามาก็จะรู้เลยว่าเป็นโลโก้ National Geographic

6. โลโก้ถ้าใช้แบบย่อเล็ก ๆ จะดูออกมั้ย

(แอดมิน: จากที่ทำงานในบริษัทเน้นด้าน Printing ข้อนี้สำคัญมากครับ กาดอกจันทร์ 10 ดอก) บางครั้งโลโก้ก็ถูกนำไปย่อเล็กในสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าออกแบบโลโก้มาไม่ดี อาจทำให้กลายเป็นก้อนอะไรไม่รู้ก็เป็นได้ครับ

จากรูปด้านบนจะเห็นได้ชัดเลยครับว่าโลโก้ Nike, McDonald, Twitter, และ WWF ดูออกง่ายมากในขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นโลโก้ GE หรือ Starbucks เราดูแทบไม่ออกเลยว่าเป็นโลโก้แบรนด์อะไร

หลักการคิดทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาไม่ได้เป็นกฏตายตัวนะครับ แต่เป็นแนวทางที่ทำให้ออกแบบโลโก้ที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ต้องตรงตามวิธีในนี้เป๊ะ ๆ ก็เป็นโลโก้ที่ดีได้เช่นกัน แต่เราก็จะรู้ด้วยตัวเองว่าถ้าทำแบบไหนจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ก่อนออกแบบโลโก้ทุกครั้ง ลองถามคำถาม 6 ข้อนี้กับตัวเองดูครับ อาจจะทำให้โลโก้ของเราเป็นโลโก้ที่ดีมากขึ้นก็ได้

คัดลอกมาจาก : http://www.designil.com/how-to-logo-design-tips.html